กีฬาคริกเก็ต ( Crickets ) จะมีความคล้ายคลีงกับกีฬาเบสบอลเป็นอย่างมาก โดยจะมีอุปกรณ์และวิธีการเล่นที่คล้ายกัน แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันพอสมควร โดยการเล่นคริกเก็ตจะเน้นการทำให้ผู้เล่นต้องออกจากสนาม ไม่วิธีใดก็วิธีหนึ่งตามกฏกติกา ซึ่งจะมีการใช้พลังงานในการเล่นเป็นอย่างสูงมาก ถึงแม้ว่าตัวเกมจะไม่ได้รับความนิยมในประเทศไทยแต่กลับได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศอินเดีย โดยการเล่นคริกเก็ตนั้นสามารถเล่นแบบไม่ต้องใช้อุปกรณ์ให้ครบก็ได้ เพียงแต่อาจจะเกิดความอันตรายกับผู้เล่นได้ จึงทำให้ผู้คนทั่วไปไม่เล่นกันเหมือนกับกีฬาอื่นๆที่สามารถเล่นได้ด้วยอุปกรณ์เพียงไม่กี่อย่างและไม่ต้องใช้เครื่องป้องกันใดๆ
กีฬาคริกเก็ตได้ถูกคิดค้นในช่วงยุคล่าอาณานิคมของอังกฤษ มีการคาดการณ์ว่าอาจจะมีมาก่อนช่วงปี ค.ศ. 1550 และยังเป็นที่แพร่หลายในหลายๆประเทศอีกต่างหาก เพราะอังกฤษนั้นได้ล่าอาณานิคมอยู่หลายประเทศ ตัวอย่างเช่น อินเดีย บังกลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา และออสเตรเลีย เป็นต้น โดยเฉพาะกับประเทศอินเดียที่ได้รับอิทธิพลมาจากอังกฤษทางด้านกีฬา ถึงได้มีการจัดการแข่งขัน อินเดียน พรีเมียร์ลีก ( Indian Premier League ) ขึ้นมา เป็นการแข่งขันคริกเก็ตในประเทศอินเดีย ซึ่งได้รับความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับชาวอินเดียในยุคนั้น ผู้เล่นแต่ละคนจะได้รับการยกย่องราวกับวีรบุรุษ และได้ค่าตอบแทนที่แพงที่สุดในบรรดาประเภทนักกีฬาทั้งหมดของประเทศอินเดีย แม้แต่กระทั่งดาราของประเทศยังหันมาให้ความสนใจ อย่างนาย ชาห์รุข ข่าน ( Shahrukh Khan ) จนได้ก่อตั้งทีมคริกเก็ตเป็นของตัวเอง โดยใช้ชื่อทีมว่า โกลกาตา ( Kolkata Knight Riders ) ในช่วงปี ค.ศ. 2008 ทำให้เห็นได้ชัดเลยว่ายังคงเป็นกีฬาที่ผ่านมาหลายร้อยปีแล้ว แต่ผู้คนก็ยังให้ความสนใจกันอยู่จนถึงทุกวันนี้
สนามของกีฬาคริกเก็ตนั้นจะมีลักษณะเป็นรูปวงรีเกือบกลม พื้นในสนามจะเป็นหญ้าคล้ายสนามฟุตบอล ส่วนตรงกลางสนามมีกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าไว้สำหรับขว้างและตีลูก ซึ่งเรียกว่า พิทช์ ( Pitch ) ความยาวประมาณ 20.12 เมตร ความกว้างประมาณ 3.05 เมตร โดยจะมีเส้นที่เรียกว่าเส้นปลอดภัยอยู่ในกรอบทั้ง 2 ฝั่ง อยู่ห่างกันประมาณ 17.68 เมตร และในลาน พิทช์ จะมีเสาไม้ 3 ต้นวางเชื่อมกันด้วยตัวหนอน 2 ตัวเรียกว่า วิกเก็ต ( Wicket )
อุปกรณ์ของกีฬาคริกเก็ต จะประกอบไปด้วย ไม้ตี ( Bat ), ลูกบอล ( Cricket Ball ), ถุงมือ ( Gloves ), หมวก ( Helmet ), เครื่องกันป้องกันหน้าแข้ง ( Leg Guard ), เครื่องป้องกันน่อง ( Thigh Guards ), เครื่องป้องกันน่องภายใน ( Inner Thigh Guard ), เครื่องป้องกันส่วนหน้าอก ( Chest Guard ), กระจับ ( Groin Guard ), ถุงมือคีปเปอร์ ( Keeper’s Gloves ) และ วิกเก็ต ( Wicket )
การเล่นคริกเก็ตนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ทีม โดยจะมีฝั่งละ 11 คน ซึ่งก่อนเริ่มเล่นจะทำการตัดสินว่าทีมไหนจะเป็นทีมที่ได้เริ่มเล่นทีมตีหรือทีมรับก่อน โดยจะทำการโยนเหรียญและให้ทั้งสองฝ่ายเลือกหน้าเหรียญ หากใครทายถูกก็จะได้เป็นทีมตีหรือทีมรับก่อน เวลาในการแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ( Innings ) โดยจะทำการขว้างบอลให้โดนวิกเก็ตที่จะมีผู้รักษาเอาไว้อยู่ หากโดนวิกเก็ตผู้รักษาจะต้องออกจากสนาม หากบอลถูกตีและถูกรับเอาไว้ได้ผู้รักษาคนนั้นก็ต้องออกเช่นกัน และวิธีสุดท้ายสำหรับการนำผู้เล่นออกจะเป็นการที่ผู้รับเก็บบอลได้และใช้ลูกบอลทำลายวิกเก็ตก่อนที่ผู้ตีจะวิ่งถึงเขตปลอดภัย การจบเกมจะจบลงก็ต่อเมื่อผู้ฝั่งใดฝั่งหนึ่งสูญเสียผู้เล่นไปทั้งหมดครบ 10 คนแล้วนั้นเอง
คริกเก็ตเป็นกีฬาที่อาศัยการทำให้ผู้เล่นอีกฝ่ายต้องออกจากสนาม ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ออกด้วยวิธีไหนในฏกกติกา และเป็นกีฬาที่ใช้เวลาค่อนข้างไม่แน่นอน เพราะขึ้นอยู่กับความเก่งของแต่ละทีมที่เจอกัน เป็นกีฬาที่ทำให้ผู้ชมต้องคอยลุ้นอยู่ตลอดเวลาว่าเมื่อไหร่ทีมไหนจะทำให้ผู้เล่นอีกฝั่งออกจากสนามได้หมดก่อนกัน เป็นกีฬาที่เหมาะสำหรับใครที่มีเวลาว่างในการรับชมเป็นอย่างมาก เพราะกฏกติกาที่ไม่จำกัดเวลาในการเล่น อาจจะทำให้เกมๆหนึ่งใช้เวลาทั้งวันเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้ก็เป็นกีฬาที่ควรค่าแก่การรับชม เพราะมีความบันเทิงที่ไม่เหมือนกับกีฬาอื่นที่ต้องลุ้นกับเวลาหรือข้อจำกัดรอบในการเล่น